วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์1.หน้าที่และชนิดของคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์ หรือ อุปกรณ์อัดแก๊ส คือ ปั๊มที่ทำหน้าที่อัดแก๊สที่ได้จากน้ำยาที่กลายเป็นไอในอีวาปโปเรเตอร์ ให้มีความดันสูงขึ้น ซึ่งขณะเดียวกันอุณหภูมิของแก๊สจะสูงขึ้นด้วยเมื่อได้แก๊สความดันสูงแล้ว จึงจะให้ผ่านไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อระบายความร้อนออกและทำให้แก๊สเหล่านี้กลั่นตัวเป็นน้ำยาเหลวอีกครั้งหนึ่ง การอัดแก๊สดังกล่าวจะอัดจนกระทั่งอุณหภูมิของแก๊สสูงกว่าอุณหภูมิของสารตัวกลางที่ใช้หล่อเย็น คอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องทำงานโดยมีการสูญเสียความดันจากการรั่วของแก๊สและใช้กำลังงานในการขับคอมเพรสเซอร์น้อยที่สุด คอมเพรสเซอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1.คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) 2.คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor) 3.คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยง (Centrifugal Compressor)2.คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ 2.1คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมาตรฐาน หมายถึงคอมเพรสเซอร์ ที่มีส่วนประกอบคล้ายกับเครื่องยนต์ กล่าวคือ ลูกสูบของคอมเพรสเซอร์จะเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรงภานในกระบอกสูบ เป็นการดูดหรืออัดแก๊ส ลูกสูบต่ออยู่กับก้านลูกสูบและเพลาข้อเหวี่ยง 2.2คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ”สวอชเพลท” เป็นคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบที่มีโครงสร้างต่างไปจาก คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมาตรฐาน ในแบบสวอชเพลท 3.คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ 3.1คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ชนิดใบพัดอยู่กับที่ ประกอบด้วยเพลาลูกเบี้ยวสวมอยู่ในโรเตอร์ ทั้งหมดนี้ประกอบอยู่ในเรือนคอมเพรสเซอร์ โดยจุดศูนย์กลางของเพลาลูกเบี้ยวและคอมเพรสเซอร์จะอยู่ในจุดเดียวกัน ใบพัดสอดและเคลื่อนที่ขึ้นลงอยู่ในช่อง คอมเพรสเซอร์จะสัมผัสกับโรเตอร์ตลอดเวลาด้วยแรงสปริง 3.2คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ชนิดใบพัดหมุน ประกอบด้วยเพลาลูกเบี้ยวรูปหน้าตัดเป็นวงกลมบนลูกเบี้ยวจะเจาะเป็นช่องๆเพื่อให้ใบพัดสวมอยู่ได้ ลูกเบี้ยวและใบพัดติดตั้งอยู่ในเรือนคอมเพรสเซอร์ ซึ่งผิวด้านในเป็นวงกลม แต่ตำแหน่งจุศูนย์กลางของลูกเบี้ยวและเรือนคอมเพรสเซอร์อยู่เยื้องศูนย์กัน โดยระยะที่แคบที่สุดจะเป็ฯระยะผิวนอกของลูกเบี้ยวสัมผัสผิวภายในเรือนคอมเพรสเซอร์พอดี4.คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยง ในการใช้งานคอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยง จะอาศัยความเร็วในการหมุนใบพัดเพื่อทำให้เกิดแรงดันภายในเรือนคอมเพรสเซอร์ความเร็วที่ปลายใบพัดอาจสูงถึง 850 ฟุต/วินาทีและความเร็วรอบต่ำสุดที่จะสามารถทำงานได้ประมาณ 3450 รอบ/นาที แต่ถึงอย่างไรก็ตามอัตราส่วนการอัดของคอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงนี้จะไม่สูงนัก คือ ถ้าเป็นแบบสะเตจเดียวจะมีอัตราส่วนการอัดประมาณ 4.5:1 เท่านั้นเอง ดังนั้นคอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงจะเหมาะสมที่ใช้ระบบทำความเย็น ที่ต้องการความดันที่แตกต่างระหว่าง อีวาปโปเรเตอร์และคอมเพรสเซอร์ไม่มากนัก ขณะเดียวกันระบบที่ต้องการขับไอน้ำยาที่มีปริมาณมาก จากการวิเคราะห์ที่ใช้งานปรากฎว่าคอมเพรสเซอร์แรงเหวี่ยงจะใช้ได้ดีกับระบบทำความเย็นขนาด 150 ตันขึ้นไป